แนวทางการบริหารงบประมาณรายจ่ายประจำปีงบประมาณ พ.ศ.๒๕๕๙ เกี่ยวกับการเบิกจ่ายค่าจ้างลูกจ้างชั่วคราวรายวัน


แนวทางการบริหารงบประมาณรายจ่ายประจำปีงบประมาณ พ.ศ.๒๕๕๙ เกี่ยวกับการเบิกจ่ายค่าจ้างลูกจ้างชั่วคราวรายวัน

        ตามหนังสือกองแผนงาน ด่วนที่สุด ที่ E ผตป.ผง.๑๑๓๘/๒๕๕๘ ลงวันที่ ๑๙ กันยายน ๒๕๕๘ เรื่อง แจ้งมาตรการเพิ่มประสิทธิภาพการใช้จ่ายงบประมาณรายจ่าประจำปีงบประมาณ พ.ศ.๒๕๕๙ ของคณะกรรมการติดตามเร่งรัดการใช้จ่ายงบประมาณ ข้อ ๑.๑ การจ่ายค่าจ้างลูกจ้างชั่วคราวรายวัน (ทุกกรณี) กำหนดให้จ่ายเดือนละ ๒ ครั้ง และหนังสือกองการเงินและบัญชี ด่วนที่สุด ที่ กงบ.๑๒๔๕/๒๕๕๗ ลงวันที่ ๑๗ พฤศจิกายน ๒๕๕๗ กำหนดการจ่ายค่าจ้างลูจ้างชั่วคราวรายวัน (ทุกกรณี) เดือนละ ๒ ครั้ง ประกอบกับพระราชบัญญัติประกันสังคม (ฉบับที่ ๔) พ.ศศ.๒๕๕๘ กำหนดให้ลูกจ้างชั่วคราวทุกประเภท มีหน้าที่ต้องขึ้นทะเบียนตามพระราชบัญญัติฯ และให้นายจ้างหักค่าประกันตนทุกครั้งที่มีการจ่ายค่าจ้าง ตามจำนวนที่จะต้องนำส่งเป็นเงินสมทบในส่วนของผู้ประกันตน และนำส่งเงินสมทบในส่วนของผู้ประกันที่ได้หักไว้และเงินสมทบในส่วนของนายจ้างให้สำนักงานประกันสังคม ภายในวันที่ ๑๕ ของเดือนถัดไปจากเดือนที่มีการหักเงินสมทบไว้ นั้น

        เพื่อให้การบริหารงบประมาณรายจ่ายประจำปีงบประมาณ พ.ศ.๒๕๕๙ เป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพ จึงขอยกเลิกมาตรการเกี่ยวกับการจ่ายค่าจ้างลูกจ้างชั่วคราวรายวัน (ทุกกรณี) เดือนละ ๒ ครั้ง ตามหนังสือดังกล่าวข้างต้น และกำหนดแนวทางการบริหารงบประมาณรายจ่ายประจำปี พ.ศ.๒๕๕๙ เกี่ยวกับการเบิกจ่ายค่าจ้างลูกจ้างชั่วคราวรายวัน ดังนี้

        การจ่ายค่าจ้างลูกจ้างชั่วคราวรายวัน (ทุกกรณี)

        ๑. กำหนดให้จ่ายค่าจ้างลูกจ้างรายวัน (ทุกกรณี) เดือนละครั้ง ภายในวันที่ ๑๐ ของเดือนถัดไปสำหรับลูกจ้างชั่วคราวรายวันที่มีการปฏิบัติงานจริง

        ๒. ยกเว้น เดือนธันวาคม ๒๕๕๘ (ไตรมาสที่ ๑) เดือนมีนาคม ๒๕๕๙ (ไตรมาสที่ ๒) เดือนมิถุนายน ๒๕๕๙ (ไตรมาสที่ ๓) และเดือนกันยายน ๒๕๕๙ (ไตรมาสที่ ๔) ให้ตั้งเบิกโดยใช้คำสั่งตามระยะเวลาที่กำหนด ภายในวันทำการสุดท้ายของแต่ละเดือน แต่จะจ่ายค่าจ้างเมื่อได้รับใยสำคัญที่เป็นหลักฐานการปฏิบัติงานจริง ทั้งนี้ ไม่เกินวันที่ ๑๐ ของเดือนถัดไป หากมีเงินเหลือจ่ายให้นำส่งคืนคลังโดยการเบิกเกินส่งคืนหรือนำส่งจ่ายเป็นรายได้แผ่นดิน ตามแต่กรณี

        วิธีการจ่ายเงิน

        ให้จ่ายเงินโดยวิธีการโอนเงินค่าจ้างเข้าบัญชีเงินฝากธนาคารของลูกจ้างแต่ละราย หากมีค่าใช้จ่ายในการโอนเงิน ลูกจ้างชั่วคราวเป็ฯผู้รับผิดชอบ (สำหรับการโอนเงินเข้าบัญชีเงินฝากธนาคาร ให้ใช้เฉพาะบัญชีเงินฝากออมทรัพย์หรือสะสมทรัพย์ของทุกธนาคาร) ทั้งนี้ ตั้งแต่การเบิกจ่ายค่าจ้างลูกจ้างชั่วคราวรายวัน เดือนพฤศจิกายน ๒๕๕๘ เป็นต้นไป